เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

โอท็อป เรากำลังหลงทางอยู่หรือเปล่า...?

Ideas for Thailand: ไอเดียประเทศไทย # 6

ความแตกต่างระหว่างศูนย์ OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ กับงานแสดงสินค้า OTOP ที่เมืองทองธานี
ปัจจุบัน"งานแสดงสินค้าโอท็อป" กำลังกลายเป็น"งานขายสินค้าโอท็อป" วัตถุประสงค์เดิมของผู้จัดที่ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยชุมชน กำลังถูกบิดเบือนกลายเป็นงานขายสินค้าที่ทุกฝ่ายมุ่งหวัง "จำนวน" เป็น หลัก ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้เข้าชมงาน (หรือนักช้อป) จำนวนเงินที่หมุนเวียนในงาน หรือจำนวนร้านที่ให้ความสนใจมาร่วมงาน เป็นต้น แม้ว่าทุกฝ่ายจะพอใจกับผลสำเร็จของงานโอท็อป ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ผู้จัด ชุมชน และขาช้อป แต่ปัญหาีที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลกำลัง"หาปลา"ให้ชุมชนเหล่านี้ มากกว่าสอนให้เค้าหาปลาด้วยตัวเองซึ่งจะเป็นการแนวทางที่ยั่งยืนมากกว่า

 รััฐบาลกำลัง"จัดตลาด" ให้กับชุมชน มากกว่าที่จะให้ชุมชนเหล่านี้หาตลา่ดด้วยศักยภาพภายในของเค้าเอง ศูนย์โอท็อปในชุมชนต่าง ๆ ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีใครเข้าไปเยี่ยมชม นักช้อปในกรุงก็รองานโอท็อป ซึ่งปัจจุบันงานใหญ่ ๆ ก็จัดกันปีละ 2 ครั้งอยู่แล้ว ไม่นับรวมงานย่อย ๆ ชุมชนเองก็ไม่สนใจที่จะพัฒนาตลาดในท้องถิ่นด้วยตัวเอง ได้แต่รอฟันกำไรในตลาดที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าโอท็อป ไม่ถูกเลยแม้ว่าผู้มาออกงานจะไม่ต้องเสียค่าเช่าก็ตาม ดังนั้นงานโอท็อปจึงเป็นเทศกาลที่พ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาาสทำกำไร จากตลาดที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และก็ยุ่งแต่กับการขายสินค้าให้นักช้อปรายย่อย จนทำให้มีเวลาน้อย หรือไม่มีเลย (บางรายก็ทำตาเขียวใส่) ที่จะพบปะพูดคุย ให้ข้อมูลสินค้า สร้างโอกาสทางธุรกิจกับนักลงทุน

ศูนย์ OTOP อำเภอพาน ก็ร้างเหมือนกัน
วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
1) พัฒนาศูนย์ OTOP ของจังหวัดให้เป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัด
ศูนย์ OTOP ของชุมชมนับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับการเดินทางเข้าไปซื้อหา เนื่องจากการกระจายตัว การเดินทางที่ลำบาก และชุมชนเหล่านั้นก็ไม่ใช่จุดหมายของนักท่องเที่ยว การจัดตั้งศูนย์ OTOP ของจังหวัด เป็นการใช้ประโยชน์จากคำว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย" หิ่งห้อยตัวเล็ก ๆ ยากที่จะแข่งกับแสงเดือน ในแต่ละปีให้มีการจัดถนนคนเดินบน "ถนนภูมิปัญญา" ของแต่ละจังหวัด และจัดงานประเพณีและงาน OTOP ประจำปีของของจังหวัด

2) ทำให้งานแสดงสินค้าโอท็อป เป็นงานแสดงสินค้ามากขึ้น
งานแสดงสินค้าโอท็อปจะเป็นงานที่พ่อค้าแม่ค้าจากชุมชน พบปะนักธุรกิจและผู้สนใจ โดยแต่ละจังหวัดมีพื้นที่และจัด pavillion ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทำการประชาสัมพันธ์จังหวัด ข้อมูลการเดินทางไปยัง "ศูนย์ OTOP ของจังหวัด" และให้ชุมชนผู้ผลิตสินค้าโอท็อปที่ได้รับการคัดเลือก มาจัดแสดงสินค้าในบริเวณ pavillion ของจังหวัดนั้นๆ  และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสินค้าฟรีตลอดทั้งงาน จัดหานามบัตร และ brochure ให้เพียงพอ  ในกรณีนี้รัฐบาลจะสร้างโอกาสในการทำการตลาดให้แก่ผู้ผลิต OTOP เป็นการย้ายความสนใจของผู้ผลิต OTOP จากการขายและได้เงินไว ๆ มาเป็นการเน้นการทำตลาด เร่งประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และสานต่อธุรกิจในระยะยาว
Pavillion OTOP ภาคกลาง
3) จัดศูนย์ OTOP ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ๆ
ศูนย์เหล่านี้จะเป็นผู้ให้บริการข้อมูลของชุมชน OTOP, ร้านขายสินค้า OTOP และศูนย์ OTOP ของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ศูนย์นี้จะเป็นศูนย์ถาวรเป็นและทำหน้าที่เป็นตัวคอยประสานงานระหว่างนัก ธุรกิจและผู้สนใจเข้าชม และหาโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชุมชน OTOP ต่าง ๆ

สามประสานระหว่าง ศูนย์โอท็อปในเมืองธุรกิจ, ศูนย์โอท็อประดับจังหวัด และร้านจำหน่ายสินค้า OTOP
 4) รัฐบาลจัดงาน Road Show สำหรับผู้ผลิต OTOP 5 ดาว
รัฐบาลต้องเลือกผู้ผลิตที่มีความพร้อมด้านการบริหารและการตลาดที่จะขยายตัว ขึ้น ส่งเสริมให้ได้รับตรา Thailand Best และจัดงา่น road show ยังต่างประเทศ

ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
1) ทำให้ผู้ผลิต OTOP สามารถยืนได้บนลำแข้งตนเอง ไม่ต้องคอยพึ่งรัฐบาล
2) ตราสินค้า สินค้าและชุมชนจะเป็นที่จดจำมากขึ้นในหมู่นักช้อป
3) กระตุ้นให้เกิดร้านขายสินค้า OTOP เล็ก ๆ ในเมืองกระจายไปทั่วประเทศ  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ขาช้อปที่ไม่สะดวกจะไปซื้อที่ศูนย์ OTOP ของแต่ละจังหวัด
4) เป็นการกระตุ้นให้นักช้อป ไปซื้อเองถึงศูนย์ OTOP จังหวัด ในกรณีที่ต้องการของที่ถูกกว่าที่ขายในร้าน OTOP  เล็ก ๆ
5) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่จังหวัด สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และดึงผู้คนไปเที่ยวในจังหวัดนั้น ๆ มากขึ้น
6) ทำให้่สินค้า OTOP มีราคาถูกลงเนื่องจากจะขายสินค้าได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอฟันกำไรในงานโอท็อปเพียงไม่กี่ครั้งในกรุงเทพฯ

การวัดผล:

- จำนวนผู้ที่สนใจพูดคุยสร้างโอกาสทางธุรกิจกับผู้ผลิตสินค้า OTOP ในงานแสดงสินค้า
- จำนวนธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงหลังงานแสดงสินค้า
- จำนวนผู้เยี่ยมชมศูนย์ OTOP ของจังหวัด

No comments: