![]() |
ถุงพลาสติกเป็นนวัตกรรมของมนุษย์ที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ |
จากการวิจัยของต่างประเทศ ต้นทุนในการทำลายถุงพลาสติกหนึ่งถุงสูงถึง 17 cents (ประมาณ 5 บาท) ถุงพลาสติกได้ตกเป็นจำเลยด้วยข้อหาทำลายสิ่งแวดล้อม แม้แท้จริงแล้วปัญหานั้นเกิดจากมนุษย์ดังนั้่นเราจึงควรต้องปรับพฤติกรรมและ เพิ่มคุณค่าให้แก่ถุงพลาสติกในฐานะที่เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ และลดการใช้ถุงพลาสติกเพียงครั้งเดียว (Ban Single-Use of Plastic Bags)
แม้ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้เิริ่มให้ความสนใจกับการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และหันมาใช้ถุงผ้าแทน แต่ถุงผ้านั้นเหมาะสำหรับห้างสรรพสินค้าติดแอร์มากกว่าตลาดสด ซึ่งมีปัญหาเรื่องน้ำ เศษดินและสิ่งสกปรกที่ยังติดอยู่กับผลิตผลที่วางขาย ด้วยสาเหตุเหล่านี้ถุงพลาสติกจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตลาดสด
คำถาม: เอ...แล้วเราจะแก้ปัญหาเรื่องถุงพลาสติกกันอย่างไร ? ในเมื่อดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทันสมัย
ห้างร้านและตลาดสดต่าง ๆ อาจนำแนวคิด "ธนาคารถุงพลาสติก" ซึ่งบรรจุถุงพลาสติกใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดไว้คอยให้บริการนักช้อป |
ให้ห้างร้านต่าง ๆ และตลา่ดสดจัดสัปดาห์รณรงค์นำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการแจกจ่ายถุงพลาสติกใบใหม่ และนำถุงพลาสติกที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ซ้ำ
โดยขั้นตอนในกรอบ 3 เดือนนี้คือ
1) รณรงค์ตามสื่อต่าง ๆ ให้คนไทยก่อนออกจากบ้านนำถุงพลาสติกติดตัวไปด้วย โดยแสดงให้เห็นว่าถุงพลาสติกมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันนอกจากจะใช้ซื้อของ แล้ว ยังใช้ใส่ร่มหรือรองเท้าที่เปียก ไปว่ายน้ำเล่นฟิตเนสก็เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่เปียก เอาไว้คลุมหัวยามฝนตก เอาไว้อ้วกเวลาเมารถ เอาไว้ใส่ขยะที่โต๊ะทำงาน
2) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตไม่แจกจ่ายถุงพลาสติกให้ลูกค้าฟรี แต่จะคิดค่าถุงใบละ 5 บาท (วิธีนี้จะทำให้ถุงพลาสติกหนึ่งใบมีคุณค่าขึ้นมาโดยปริยาย ก่อนจะทิ้งผู้บริโภคจะคิดว่าน่าจะนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก เพื่อประหยัดเงิน 5 บาท)
3) ตลา่ดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตจัดจุดบริการถุงใช้แล้วให้นักช้อปฟรีหรือคิดราคา ตามสมควร รวมถึงให้ตั้งจุดรับบริจาคถุงพลาสติคใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดสำหรับ ท่านที่มีถุงพลาสติกจำนวนมากแล้วไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร
4) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตต้องพิมพ์ข้อความบนถุงรณรงค์ให้ผู้บริโภคนำถุงพลาสติคติดตัวไว้หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ และให้ข้อมูลถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการทำลายถุงพลาสติก
5) ให้สติ๊กเกอร์สะสมแต้มสำหรับการนำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง เมื่อสะสมครบก็มอบเหรียญ, ของสมนาคุณหรือส่วนลดให้
โดยขั้นตอนในกรอบ 3 เดือนนี้คือ
1) รณรงค์ตามสื่อต่าง ๆ ให้คนไทยก่อนออกจากบ้านนำถุงพลาสติกติดตัวไปด้วย โดยแสดงให้เห็นว่าถุงพลาสติกมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันนอกจากจะใช้ซื้อของ แล้ว ยังใช้ใส่ร่มหรือรองเท้าที่เปียก ไปว่ายน้ำเล่นฟิตเนสก็เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่เปียก เอาไว้คลุมหัวยามฝนตก เอาไว้อ้วกเวลาเมารถ เอาไว้ใส่ขยะที่โต๊ะทำงาน
ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่นี้ เราก็สามารถย่อถุงพลาสติกและนำติดตัวไปได้ทุกที่
2) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตไม่แจกจ่ายถุงพลาสติกให้ลูกค้าฟรี แต่จะคิดค่าถุงใบละ 5 บาท (วิธีนี้จะทำให้ถุงพลาสติกหนึ่งใบมีคุณค่าขึ้นมาโดยปริยาย ก่อนจะทิ้งผู้บริโภคจะคิดว่าน่าจะนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก เพื่อประหยัดเงิน 5 บาท)
3) ตลา่ดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตจัดจุดบริการถุงใช้แล้วให้นักช้อปฟรีหรือคิดราคา ตามสมควร รวมถึงให้ตั้งจุดรับบริจาคถุงพลาสติคใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดสำหรับ ท่านที่มีถุงพลาสติกจำนวนมากแล้วไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร
![]() |
หยิบไปใช้ได้ฟรี แต่ห้ามทิ้งขยะ |
4) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตต้องพิมพ์ข้อความบนถุงรณรงค์ให้ผู้บริโภคนำถุงพลาสติคติดตัวไว้หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ และให้ข้อมูลถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการทำลายถุงพลาสติก
![]() |
ชั้นคือถุงพลาสติก กรุณาใช้อย่างมีจิตสำนึก |
5) ให้สติ๊กเกอร์สะสมแต้มสำหรับการนำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง เมื่อสะสมครบก็มอบเหรียญ, ของสมนาคุณหรือส่วนลดให้
ผลที่น่าจะเกิดขึ้น:
ประชาชนจะเห็นคุณค่าของถุงพลาสติกมากขึ้น ไม่ทิ้งโดยไม่จำเป็น และมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการช่วยลดขยะ ลดมลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการลง ผู้บริโภคที่นำถุงกลับมาใช้ซ้ำหรือลดการใช้ถุงพลาสติคจะได้ประโยชน์จากแต้ม สะสมที่ร้านค้ามอบให้
วิธีวัดผล:
-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกก่อนและหลังจากดำเนินโครงการ
-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกกับตลาดอื่น
วิธีวัดผล:
-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกก่อนและหลังจากดำเนินโครงการ
-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกกับตลาดอื่น
No comments:
Post a Comment