เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

ห้องเรียนสำหรับผู้สูงวัย (Senior Back to School)

Ideas for Thailand: ไอเดียประเทศไทย # 7
ผู้สูงอายุทุกคนฝันอยากมีชีวิตหลังเกษียณที่มั่นคงและมีความสุข
ปัจจุบันและในอนาคต จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุหลายท่านต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่กับบ้านตามลำพัง นอกจากนี้ยังเป็นการสูญเปล่าเนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านี้ผ่านประสบการณ์ ชีวิตมามาก ชีวิตในวัยเรียนเป็นชีวิตที่มีความสุข เนื่องจากได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในห้องและได้พบประเพื่อนฝูงและสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงคิดว่าการนำผู้สูงอายุเข้าสู่ห้องเรียนอีกครั้งจะทำให้เค้าเหล่า นั้นมีความสุขในวัยเกษียณได้

วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
กำหนดให้สถาบันการศึกษาในชุมชนต่าง ๆ จัดหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเริ่มต้นให้อำนวยการสอนโดยคณาจารย์ในโรงเรียนที่มีความสามารถสอนผู้สูง อายุ ในลำดับต่อไปอาจขอการสนับสนุนอาจารย์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา สำหรับผู้สูงอายุ หรือรับสมัครผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการสอนผู้สูงอายุด้วยกัน แต่ละหลักสูตรยาวประมาณ 1 เดือน ใช้่เวลา 24 ชั่วโมง คาบละ 3 ชั่วโมง เรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์

วิชาส่วนใหญ่เน้นสันทนาการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน:
- สถานศึกษาต้องมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นผู้สอน และสถานที่เช่นห้องเรียนที่กว้าง เข้าออกสะดวก ห้องน้ำที่สะอาด มีราวจับ มีห้องหรือกิจกรรมสำหรับให้ลูกหลานทำระหว่างรอ
- ระยะเตรียมการจัดหลักสูตรนำร่อง 2 เดือน เพื่อหาวิทยากร รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และปรับปรุงสถานที่และสื่อการสอน
- ระยะดำเนินการ 1 เดือน โดยเสนอสองหลักสูตร เพื่อประกันว่าผู้สูงอายุจะมีทางเลือกในการสมัครเรียนและอยู่ในโครงการอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้มีการประเมินผลโดยหน่วยงานกลางควบคู่กันไปตั้งแต่ระยะเตรียมการจน จบหลักสูตร

ทักษะการขับขี่จักรยานเพื่ือสุขภาพอย่างปลอดภัย
- อาจมีการเก็บเงินจากผู้เข้าร่วมโครงการบางส่วน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมาเรียนครบตามหลักสูตร และได้รับเงินคืนเมื่อผ่านเกณฑ์ของรายวิชานั้น ๆ
- ประกาศนียบัตรชั้นต้นเมื่อผ่านวิชาบังคับ 4 วิชา
  ประกาศนียบัตรชั้นกลาง 8 วิชา (4 วิชาบังคับ + 4 วิชาเลือกจากอย่างน้อย 2 หมวดวิชา)
  ประกาศนียบัตรชั้นสูง 12 วิชา ( 4 วิชาบังคับและ 8 วิชาเลือกจากอย่างน้อย 3 หมวดวิชา)+ 1 workshop
- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรและได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง ถือได้ว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและจะได้รับเงินประกันสังคมเพิ่มอีก 500 บาท / เดือน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
ทักษะการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
วิธีวัดผล: จำนวนผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งจากความรู้และความเพลิดเพลินที่ได้รับจากห้องเรียน และจากเงินประกันสังคมที่ได้รับเพิ่ม 500 บาท / เดือน ในกรณีที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงแล้ว
2) ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ ได้รู้คุณค่าและความหมายของชีวิตหลังเกษียณ และเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการเบื่อหน่ายในชีวิต

วิชางานฝีมือ
3) มีโอกาสได้พบปะกัับเพื่อนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรมในห้องเรียน ผ่านการเป็นอาจารย์สอน หรือผ่านการเป็นวิทยากรบอกเล่าเรื่องราวชีวิตให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
4) ได้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่างบุตรหลานในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
5) เพิ่มบทบาทของสถานศึกษาในชุมชนให้มีบทบาทในการเรียนรู้ตลอดชีพ (Life Time Learning) ของประชาชนในท้องที่
6) เป็นการยกระดับระบบประกันสังคมของประเทศไทยไปในตัว

เติมช่องว่างระหว่างวัย
ตัวอย่างหลักสูตร:
วิชาบังคับ 4 วิชาได้แก่
1) พื้นฐานการเป็นปู่ย่าตายายที่ดี
2) การดูแลร่างกายสำหรับผู้สูงวัย
3) การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
4) การบริหารการเงินสำหรับผู้สูงอายุ

พื้นฐานการเป็นปู่ย่าตายายที่ดี
วิชาเลือก 4 หมวดวิชา
หมวดวิชาการ
   5) คอมพิวเตอร์พื้นฐาน อินเตอร์เน็ต
   6) ศาสนาและปรัชญา
   7) ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน
   8) การปฐมพยาบาลด้วยตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ
หมวดสันทนาการ
  9) เกมส์สำหรับเล่นบนโต๊ะ: เช่นหมากรุก หมากฮอส หมากกระดาน โก๊ะ ปิงปอง black gammon
  10) งานอดิเรก: เช่นปลูกต้นไม้ เพาะพันธุ์ปลา การดูแลสัตว์เลี้ยง เทคนิคการดูพระเครื่อง การวาดภาพ
  11) การฝึกสมาธิและเทคนิคการพักผ่อนทางจิตใจ
  12) การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนและทัศนศึกษา: ให้ผู้สูงอายุได้รอบรู้ถึงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในประเทศ
หมวดวัฒนธรรม
  13) เต้นรำ: ฟ้อนรำสี่ภาค ลีลาศเพื่อสุขภาพ
  14) ดนตรี: ความรู้ด้านดนตรีไทย สุนทราภรณ์ ดนตรีสากลคลาสสิค ขับร้องคาราโอเกะ
  15) วรรณคดีไทยและสากล
   16) ศิลปะไทยและสากล
หมวดอาชีพเสริม
   17) โหราศาสตร์ประยุกต์ ฮวงจุ้ย การดูไพ่ทาโร่
   18) โภชนาการและการประกอบอาหาร
   19) หัตถกรรมและการประดิษฐ์ เช่นถักเสื้อไหมพรม โครเชต์ ร้ิอยพวงมาลัย
   20) การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านไทย
work shop เสริมสร้างทักษะการถ่ายทอดความรู้ 3 วิชา
   21) ฝึกการถ่ายทอดประสบการณ์สู่คนรุ่นลูกหลาน: เช่นเรื่องการประกอบธุรกิจ การใช้ชีวิตที่ดีงาม การเลี้ยงดูบุตร
   22) การจัดนิทรรศการและโครงงานอิสระ
   23) การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นวิทยากรสำหรับโครงการฯ

วิชาจัดนิทรรศการและโครงงานอิสระเพื่อเพิ่มทักษะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน

No comments: