เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

ถนนสายภูมิปัญญา ( The Road of Wisdom)

Ideas for Thailand: ไอเดียประเทศไทย # 11

ถึงเวลารื้อฟื้นและภาคภูมิใจกับภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย
ทุกวันนี้คนไทยหลายคนคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้หลายคนไม่มีความภูมิใจในความเป็นไืทย ที่เป็นแบบนี้เพราะทุกวันนี้เราไม่ได้เน้นเรื่องการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมขึ้นมาเอง ทั้งที่จริง ๆ แล้วคนไทยเป็นชนชาติที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักนำวิกฤติหรือปัญหามาเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการต่อยอดจากความคิืดหรือนวัตกรรมที่มีอยู่

ปัญหาที่พบในปัจจุบันก็คือสิ่งที่เรานำมาใช้เป็นฐานความคิดเพื่อต่อยอดนั้น หลาย ๆ สิ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากภายในสังคมหรือชุมชน แต่เป็นการรับมาจากภายนอก จากต่างประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับสังคมและชุมชน ดังนั้นจะเป็นการดีที่เราจะหันกลับมามองดูว่าอะไรเป็นภูมิปัญญา อะไรคือนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชุมชนท้องถิ่น หรือของสังคม นำสิ่งนี้มารวบรวมให้เห็นเป็นรูปธรรม ให้คนในชุมชนนั้นได้ตระหนักและเรียนรู้ทั้งความสำเร็จและผิดพลาด เพื่อจะได้ใช้เป็นฐานในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ หรือต่อยอดความคิดต่อไป

สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ให้แก่ท้องถิ่น
 วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
1) ให้แต่ละจังหวัดรวบรวมนวัตกรรม ภูมิปัญญา หรือความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากท้องถิ่นหรือของจังหวัด ที่เด่น ๆ และเป็นที่รู้จักได้รับการยอมรับ 10 อย่าง เช่น กำแพงเพชร = กล้วยไข่, กระยาสารท, ประเพณีนบพระ เล่นเพลง ฯลฯ ทั้งนี้รวมถึงภูมิปัญญาที่เคยมีแล้วเลือนหายไป แต่สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ได้
2) สร้างเป็นงานประติมากรรม สวย ๆ แนวศิลปะ แอ๊บแสตร๊ค เตะตา (เน้นให้สวยงาม ถาวร อาจจะปรึกษากรมศิลป์ หรือว่าจ้างศิลปินปั้นให้) วางตลอดริมถนนสายหนึ่งไปเลย พร้อมกับป้ายแสดงรายละเอียดของภูมิปัญญาชิ้นนั้น(ไทยและอังกฤษ) ว่ามีประวัติความเป็นมา และพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร ผ่านปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง ทำไมจึงเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ  และผู้ที่สนใจหรือนักท่องเที่ยวที่อยากเยี่ยมชม จะสามารถไปดูได้ที่ไหน เน้นไปดูแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาจริง ๆ ไม่ใช่ฉากที่จัดขึ้นมา เพราะโครงการนี้เน้นที่การศึกษาเรียนรู้มากกว่าการท่องเที่ยว และตั้งชื่อถนนให้เหมือนกันว่า "ถนนภูมิปัญญา แห่ง ...(ชื่อจังหวัด)..." 
3) ในแต่ละีปีอาจมีการพัฒนาเป็นถนนคนเดินหรืองานประจำปีของจังหวัด แหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาไหนก็ออกร้าน ในโซนที่ประติมากรรมนั้นตั้งอยู่ เป็นการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวและเกิดการแข่งขันพัฒนาสินค้าระหว่าง ชุมชนที่มีภูมิปัญญาร่วมกัน  ในกรณีจังหวัดกำแพงเพชรก็จะเกิดโซนกล้วยไข่ โซนกระยาสารท โซนแสดงประเพณีนบพระ เล่นเพลง เป็นต้น

รื้อฟื้นและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
 4) สำหรับแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญานั้นก็ต้องมีการจัดการที่ดีควบคู่กันไป ทั้งด้านการเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม ให้แหล่งกำเนิดนั้นตระหนักว่านับแต่นี้ไปเค้าจะมีัตัวตน จะเป็นที่สนใจแล้ว ดังนั้นจะต้องอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาเหล่านี้ โดยอาจจะนำงบส่วนหนึ่งจากรัฐในฐานะที่ได้รับคัดเลือกมาใช้พัฒนา และชุมชนแห่งภูมิปัญญานั้นจะต้องจัดโปรแกรมพาผู้มาเยือนเยี่ยมชมและตอบข้อ ซักถามได้อย่างชัดเจน
5) ภายในสามเดือนให้ทุกจังหวัดจัดทำรายชื่อภูมิปัญญาและรายละเอียดและนำเสนอคณะ กรรมการคัดเลือก หลังจากนั้นจะได้รวบรวมไว้เป็นบัญชีรายชื่อ  และทำการประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศและขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาเป็นสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ รวมถึงประสานงานกับททท.ด้วยให้บรรจุลงในคู่มือการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ถึงถนนสายภูมิปัญญาของแต่ละจังหวัดเพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่าง ประเทศรับรู้


ส่งเสริมงานศิลปะประเภทประติมากรรม
 6) สร้างประติมากรรมพร้อมรูปนูนต่ำขนาดเท่าเหรียญติดไว้ที่ตัวประติมากรรม แล้วนำไปวางไว้ริมถนน หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในแนวถนนนั้น เมื่อเสร็จแล้วทำเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คลายแทงแจกนักท่องเที่ยว ให้เค้านำดินสอไปขูดรูปนูนต่ำนั้นลงบนสมุด นักท่องเที่ยวก็จะได้เพลิดเพลินจากการสะสมรอยขูดตราสัญลักษณ์นั้นเก็บไว้ เป็นความภูมิใจ ใครสะสมได้ครบ 77 จังหวัดก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตภูมิปัญญาแห่งประเทศไทย (wisdom ambassador) ใครได้ครบทุกจังหวัดภายในภาคเหนือ ก็เป็นทูตภูมิปัญญาภาคเหนือ
7) ในแต่ละปีให้มีการประกวดนวัตกรรมประจำจังหวัด เราจะได้ความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาใหม่ชนะเลิศ ทั้งหมด 77 ชิ้น (จาก 77 จังหวัด) เพื่อนำมาทำการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทุกคนและชาวโลกได้รับรู้ว่ามีความคิดดี ๆ หลายอย่าง เกิดขึ้นที่ประเทศไทยทุกปี

กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันพัฒนาภูมิปัญญาใหม่ ๆ
ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
1) เกิดคลังภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นจากภายในชุมชน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ตระหนัก เรียนรู้่และได้ต่อยอด
2) พลิกฟื้นชุมชนและทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชุมชน การอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาเหล่านั้น
3) กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในด้านความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาทางภูมิปัญญา
4) เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และยังเป็นการเปิดตลาดการท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญา (knowledge tourism) พัฒนาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก
5) เกิดการจ้างงานในชุมชน เกิดสินค้าใหม่
6) ประกาศและป้องกันการจารกรรมทรัพย์สินทางภูมิปัญญาของประเทศ

หมายเหตุ/อื่นๆ: 
การวัดผลระยะั้สั้้น : รายชื่อภูมิปัญญาและรายละเอียดของจังหวัด
การวัดผลระยะยาว: จำนวนผู้เยี่ยมเยือนแหล่งกำเินิดแห่งภูมิปัญญา และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นของแต่ละจังหวัด
ถนนภูมิปัญญาของจังหวัีดควรเป็นถนนที่สวย มีต้นไม้ร่มครึ้มเหมาะแก่การเดิน มีความยาวพอประมาณ (ระยะห่างระหว่างประติมากรรมภูมิปัญญาไม่ควรจะเกิน 300 เมตร)

No comments: