เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

สิ่งแวดล้อม

รณรงค์นำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse Me Please)

ถุงพลาสติกเป็นนวัตกรรมของมนุษย์ที่กำลังคุกคามสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่
ถุงพลาสติกเป็นพัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์อีกก้าวหนึ่งช่วย เพิ่มความสะดวกสบาย ให้กับมนุษยชาติ อย่างไรก็ตามพัฒนาการควรเป็นไปอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันครอบครัวไทยหลายครอบครัวแม้จะเริ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้ถุง พลาสติก แต่ในทางปฏิบัติกลับยอมจำนนต่อความสะดวกสบายที่ถุงพลาสติกมอบให้ จนปัจจุบันขยะพลาสติกได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้สร้างความรำคาญด้วยการอุดตันท่อน้ำ ลอยล่องกลางทะเล เกยตื้นตามชายหาด คร่าชีวิตสัตว์ที่หลงกินเข้าไปหลายชีวิต รวมถึงสร้างมลภาวะในการย่อยสลายและทำลาย

จากการวิจัยของต่างประเทศ ต้นทุนในการทำลายถุงพลาสติกหนึ่งถุงสูงถึง 17 cents (ประมาณ 5 บาท) ถุงพลาสติกได้ตกเป็นจำเลยด้วยข้อหาทำลายสิ่งแวดล้อม แม้แท้จริงแล้วปัญหานั้นเกิดจากมนุษย์ดังนั้่นเราจึงควรต้องปรับพฤติกรรมและ เพิ่มคุณค่าให้แก่ถุงพลาสติกในฐานะที่เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ และลดการใช้ถุงพลาสติกเพียงครั้งเดียว (Ban Single-Use of Plastic Bags)
แม้ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้เิริ่มให้ความสนใจกับการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก และหันมาใช้ถุงผ้าแทน แต่ถุงผ้านั้นเหมาะสำหรับห้างสรรพสินค้าติดแอร์มากกว่าตลาดสด ซึ่งมีปัญหาเรื่องน้ำ เศษดินและสิ่งสกปรกที่ยังติดอยู่กับผลิตผลที่วางขาย ด้วยสาเหตุเหล่านี้ถุงพลาสติกจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตลาดสด

คำถาม: เอ...แล้วเราจะแก้ปัญหาเรื่องถุงพลาสติกกันอย่างไร ? ในเมื่อดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทันสมัย 

คำ ตอบ: การจะเปลี่ยนแปลงความเคยชินของมนุษย์เรานั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นจากสิ่งง่าย ๆ ทำให้มันเริ่มเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมของเค้า การปฏิเสธถุงพลาสติกโดยทันทีและอย่างสิ้นเชิง อาจก่อให้เกิดกระแสต่อต้าน ดังนั้นเราควรต้องเริ่มจากรณรงค์ให้คนไทยนำถุงพลาสติกกลับมาใช้ใหม่
ห้างร้านและตลาดสดต่าง ๆ อาจนำแนวคิด "ธนาคารถุงพลาสติก" ซึ่งบรรจุถุงพลาสติกใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดไว้คอยให้บริการนักช้อป
วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
ให้ ห้างร้านต่าง ๆ และตลา่ดสดจัดสัปดาห์รณรงค์นำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการแจกจ่ายถุงพลาสติกใบใหม่ และนำถุงพลาสติกที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ซ้ำ

โดยขั้นตอนในกรอบ 3 เดือนนี้คือ

1) รณรงค์ตามสื่อต่าง ๆ ให้คนไทยก่อนออกจากบ้านนำถุงพลาสติกติดตัวไปด้วย โดยแสดงให้เห็นว่าถุงพลาสติกมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันนอกจากจะใช้ซื้อของ แล้ว ยังใช้ใส่ร่มหรือรองเท้าที่เปียก ไปว่ายน้ำเล่นฟิตเนสก็เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่เปียก เอาไว้คลุมหัวยามฝนตก เอาไว้อ้วกเวลาเมารถ เอาไว้ใส่ขยะที่โต๊ะทำงาน

ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่นี้ เราก็สามารถย่อถุงพลาสติกและนำติดตัวไปได้ทุกที่

2) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตไม่แจกจ่ายถุงพลาสติกให้ลูกค้าฟรี แต่จะคิดค่าถุงใบละ 5 บาท (วิธีนี้จะทำให้ถุงพลาสติกหนึ่งใบมีคุณค่าขึ้นมาโดยปริยาย ก่อนจะทิ้งผู้บริโภคจะคิดว่าน่าจะนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก เพื่อประหยัดเงิน 5 บาท)

3) ตลา่ดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตจัดจุดบริการถุงใช้แล้วให้นักช้อปฟรีหรือคิดราคา ตามสมควร รวมถึงให้ตั้งจุดรับบริจาคถุงพลาสติคใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดสำหรับ ท่านที่มีถุงพลาสติกจำนวนมากแล้วไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร

หยิบไปใช้ได้ฟรี แต่ห้ามทิ้งขยะ

4) ตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ตต้องพิมพ์ข้อความบนถุงรณรงค์ให้ผู้บริโภคนำถุงพลา สติคติดตัวไว้หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ และให้ข้อมูลถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุนในการทำลายถุงพลาสติก

ชั้นคือถุงพลาสติก กรุณาใช้อย่างมีจิตสำนึก

5) ให้สติ๊กเกอร์สะสมแต้มสำหรับการนำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง เมื่อสะสมครบก็มอบเหรียญ, ของสมนาคุณหรือส่วนลดให้


ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
ประชาชน จะเห็นคุณค่าของถุงพลาสติกมากขึ้น ไม่ทิ้งโดยไม่จำเป็น และมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการช่วยลดขยะ ลดมลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการลง ผู้บริโภคที่นำถุงกลับมาใช้ซ้ำหรือลดการใช้ถุงพลาสติคจะได้ประโยชน์จากแต้ม สะสมที่ร้านค้ามอบให้

วิธีวัดผล:

-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกก่อนและหลังจากดำเนินโครงการ
-เปรียบเทียบจำนวนการใช้ถุงพลาสติกกับตลาดอื่น

 ..............................................................................................................................

ถึง...ลุงเขาใหญ่ (Letters to Uncle K.)
ลุงเขาใหญ่ รักเด็ก
เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทป่าเขาที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่สุด  เขาใหญ่ถูกคุกคามจากความเจริญครั้งแล้วครั้งเล่้า สาเหตุหนึ่งเกิดจากที่มนุษย์คิดว่าป่าไม้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่เพียงแค่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และมีผลประโยช์หลากหลา่ยให้ตักตวง โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนมุมมองของคนว่าอช.เขาใหญ่ หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิต มีตัวตน เปราะบาง และมีโอกาสเจ็บป่วย ล้มตายเช่นเดียวกับมนุษย์

ลุงเขาใหญ่หัวเริ่มล้าน เลยต้องใส่หมวกตลอดเวลา
วิธีดำเนินการ: 
ทำ ให้เขาใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถโต้ตอบกับ มนุษย์ มีบุคลิกเฉพาะตัว สามารถแสดงแสดงความรู้สึกรัก โลภ โกรธ หลง ลุงเขาใหญ่จะทำหน้าที่เป็น presenter อช.เขาใหญ่ และมีศักยภาพสูงที่จะเป็น celeb คนใหม่ของเมืองไทย
1) ลุงเขาใหญ่ เป็นคนนครนายก แต่ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา สระบุรี ปราจีนบุรี และบ้านเกิดที่นครนายก
2) ลุงเขาใหญ่มีเพื่อนบ้านชื่อ คุณตาพระยา, น.ส. ปางสีดา, นายทับลาน, และเด็กชายดงใหญ่
3) ยามว่างลุงเขาใหญ่ชอบตอบจดหมายเด็ก ๆ ลุงเขาใหญ่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เด็ก ๆ แค่จ่าหน้าซองว่า "ลุงเขาใหญ่" จดหมายก็จะมาถึงตู้ไปรษณีย์ส่วนตัวของลุงเขาใหญ่ แต่ลุงเขาใหญ่จะตอบจดหมายเฉพาะที่เขียนโดยใช้กระดาษรีไซเคิลเท่านั้น และต้องเป็นเด็กดีด้วย
4) ตอนนี้ลุงเขาใหญ่เพิ่งสมัครเฟซบุ๊ค (อินเทรนด์) เอาไว้บอกเล่าเรื่องราวของลุงที่ลุงเจอในชีวิตประจำวัน และข้อคิดดี ๆ สำหรับแฟน ๆ
5) ลุงเขาใหญ่แกเป็นตาแก่ทันสมัยและใจดี แต่อาจจะขี้น้อยใจและอารมณ์เสียง่ายไปบ้างตามประสาคนแก่ที่หัวเริ่มล้าน
ฯลฯ
ทั้ง นี้จะมีระบบที่จะ update สุขภาพของลุงเขาใหญ่ ให้เพื่อน ๆ ของลุงเขาใหญ่ใน facebook ได้รับรู้ด้วย และมีเกม facebook ปลูกผม(ป่า)ให้ลุงเขาใหญ่ ยิ่งปลูกเยอะเท่าไหร่ ลุงแกก็จะอารมณ์ดีขึ้นเท่านั้น

ลุงเขาใหญ่มี facebook กับเค้าเหมือนกัน

ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
- ความสัมพันธ์ระหว่างลุงเขาใหญ่กับเด็ก ๆ ผ่านการโต้ตอบจดหมาย หรือ facebook จะทำให้เด็ก ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้
- เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ของอช.เขาใหญ่ และเพื่อน ๆ ของลุงเขาใหญ่ รวมถึงสุขภาพของเขาใหญ่ด้วย

วิธีวัดผล:
1. จำนวนจดหมายที่ส่งไปที่ตู้ไปรษณีย์ "ลุงเขาใหญ่"
2. จำนวนสมาชิกและกิจกรรมใน facebook ของลุงเขาใหญ่
หมายเหตุ/อื่นๆ: 
-จัด เจ้าหน้าที่คอยตอบจดหมายเด็ก ๆ และอัพเดทข้อมูลส่งกลับให้เด็ก ๆ (ส่งข้อมูล รูปภาพ หรือประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในรูปแบบของจดหมาย รวมถึงฟอนต์ที่เป็นลายมือคนด้วย)
-จัดเจ้าหน้าที่คอย update เฟซบุ๊ค
-สร้าง บ้านลุงเขาใหญ่หลังเล็ก ๆ ไว้ที่เขาใหญ่ จำลองให้เครื่องมือเครื่องใช้ให้ดูเหมือนว่าลุงเขาใหญ่มีชีวิตจริง ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้มาเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชม แต่ลุงเขาใหญ่จะค่อนข้างยุ่ง ต้องโชคดีเท่านั้นถึงจะได้เจอตัวจริงๆ
-สามารถใช้โครงการนี้กับอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ด้วย

บ้านเล็ก ๆ ของลุงเขาใหญ่
.............................................................................................
 ชั่วโมงเร่งด่วนไร้มลพิษ
ใครที่เคยไปเที่ยวประเทศเนเธอร์แลนด์ มักจะเคยถูกคนขี่จักรยานระดมกริ่งใส่หรือไม่ก็ตะโกนด่าก็มีหากเผลอไปเดินบน bike lane เข้า ในเมืองใหญ่ของประเทศเนเธอร์แลนด์นี่เค้าใช้จักรยานกันเป็นหลัก รัฐบาลได้ทำ bike lane แยกออกมาจากทางเดินและมีขนาดใหญ่ มีช่องทางไปกลับ และก็มีไฟแดงเฉพาะ เสมือนเป็นถนนของรถยนต์ยังไงยังงั้นเลย เค้าให้ความสำคัญกับการเดินทางโดยจักรยานกันมากครับเนื่องจากดีต่อสุขภาพ ไม่ต้องเสียเงินค่าน้ำมันไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และไม่มีปัญหาด้านที่จอดที่มีจำกัดอีกด้วย ผู้ขับขี่จักรยานยังได้รับอภิสิทธิ์จากรถเก๋งหรือคนเดินถนนอีกด้วย ไม่เหมือนเมืองไทย บนถนนต้องคอยหลบรถยนต์  ขึ้นไปขี่บนทางเท้านอกจากต้องคอยหลบหลุมบ่อและอุปสรรคต่าง ๆ แล้ว ยังต้องขับแบบเจียมเนื้อเจียมตัวอีก ไม่งั้นโดนคนเดินเท้าจะทำหน้ายักษ์เข้าให้

เรามาดูกันครับว่า ชั่วโมงเร่งด่วนที่ไร้มลพิษที่ว่าเป็นอย่างไร วีดีโอข้างล่างนี้ถ่ายทำในเมืองอูเทร็ทช์ครับ

 ............................................................................................
คืนชีวิตให้ทุ่งหญ้า่
ป่าเสื่อมโทรมก่อนดำเนินโครงการ
พื้นป่าบริเวณเดิม 1 ปี หลังการใช้แผน
โครงการนี้มีัวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราสามารถย้อนกลับกระบวนการที่นำไปสู่การเกิดทะเลทรายใน ทุ่งหญ้าสะวันนา และผลของโครงการจะช่วยลดภาวะโลกร้อน ไฟป่า ความแห้งแล้ง การหายไปของสัตว์ป่า รวมไปถึง ความยากจน ความรุนแรงและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Africa Centre for Holistic Management ได้มองกระบวนการเกิดตัวของทะเลทรายผ่าน holistic framework และเปลี่ยนแปลงการจัดการปศุสัตว์ของมุษย์ให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของฝูง สัตว์ในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งแน่นอนนักล่าจะไม่ถูกกำจัดอีกต่อไป หากแต่ได้ถูกรวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูดังกล่าว ผลสำเร็จของโครงการคือการเพิ่มขึ้นของผลิตผลของฟาร์มปศุสัตว์ การเพิ่มขึ้นของแหล่งน้ำ สัตว์ป่า และป่าที่กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

...............................................................................................
 ระบบขนส่งส่วนบุคคลสาธารณะที่ยั่งยืน

Sustainable Personal Mobility: The CityCar, the RoboScooter, and Mobility-on-Demand Systems

เมืองในฝันที่ทุกคนสามารถเช่าพาหนะสำหรับใช้เดินทางแทนรถยนต์ ไม่ต้องซื้อและไม่ต้องเสียค่าดูแล อีกทั้งยังเป็นมิตรต่้อสิ่งแวดล้่อม
รถยนต์ส่วนบุคคลนับเป็นนวัตกรรมของศตวรรษที่ 20 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนและรูปแบบของเมืองอย่าง ใหญ่หลวง อย่างไรก็ตามพัฒนาการของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเริ่มมาถึงจุดอิ่มตัว และได้เริ่มก่อผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น ความแออัดในเมืองใหญ่ การขยายตัวอย่างไร้ทิศทางของเมือง การสิ้นเปลืองพลังงาน ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม การใช้พื้นที่อย่างไม่มีประสิทธิภาพ (สำหรับทำพื้นที่จอดรถ) รวมถึงการที่เศรษฐกิจต้องพึ่งพิงน้ำมันสูง และซึ่งมักนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับโลก แม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์นั่งหรือระบบถนนให้ไฮเทคและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ความพยายามเหล่านี้ก็เริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้วเช่นกัน มาดูกันว่าไอเดียที่ชนะเลิศ Ideas Index ปี 2009 นั้นจะเลิศแค่ไหน

ดังนั้นกลุ่มนักวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย William Mitchell, Ryan Chin, Charles Guan, William Lark, Jr., Michael Chia-Liang Lin, Dimitris Papanikolaou, Arthur Petron, Raul-David Poblano และ Andres Sevtsuk ได้ทำการศึกษาระบบการใช้ยานพาหนะร่วมกันในซาน ฟรานซิสโก, ลอนดอน, ฟลอเรนซ์, ลิสบอน, ไทเป และ บังกาลอร์ รวมทั้งได้ศึกษาระบบจักรยานสาธารณะ Vélib ของกรุงปารีสซึ่งเป็นระบบ mobility-on-demand system ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนจักรยานกว่า 20,000 คัน และแร็คจอดกว่า 1,200 อัน

รถจักรยานไฟฟ้า มีน้ำหนักเบาและสามารถพับได้
ระบบขนส่งส่วนบุคคลสาธารณะที่จะเข้ามาแทนการใช้รถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลนั้นในเบื้องต้น ประกอบไปด้วย CityCar, RoboScooter และ จักรยาน GreenWheel ซึ่งล้วนแต่ขับเคลื่อนจากพลังงานไฟฟ้าที่สำรองไว้ในแบตเตอรี่ และควบคุมด้วยระบบ mobility-on-demand ยานพาหนะเหล่านี้ล้วนแต่มีน้ำหนังที่เบามาก ไม่มีท่อไอเสียและใช้พลังงานและก่อให้เกิดมลภาวะในระดับต่ำมาก
เปรียบเทียบขนาดและน้ำหนักของพาหนะส่วนบุคคลสาธารณะ
ระบบ mobility-on-demand นั้นจะประกอบไปด้วยซอฟแวร์อัจริยะที่จะควบคุมผ่านจุดจอดที่ตั้งอยู่ในจุดที่ สะดวกในเขตเมือง โดยระบบการเช่าจะเป็นการเช่าเพียงขาเดียวเท่านั้น ไม่มีแบบว่าเอาไปครองทั้งวันเสมือนพาหนะส่วนตัว เนื่องจากพาหนะจะถูกควบคุมด้วยระบบติดตาม และจะปฏิบัิติการควบคู่ไปกับระบบบ mobility-on-demand รวมถึงการเติมไฟก็จะต้องเติมผ่านแร็คจอดเท่านั้น 
แรงบันดาลใจจากระบบ velo ในปารีส
ผู้ที่ีต้องการจะใช้พาหนะเหล่านี้เพียงแค่เดินไปที่จุดจอด เสียบบัตรเครดิต เอารถออกมาขับไปยังจุดหมาย และนำไปจอดยังจุดจอดที่ใกล้เคียงเท่านั้น เมื่อยานพาหนะเหล่านี้กลับเข้าแร็คจอด รถเหล่านี้ก็จะถูกเติมไฟใหม่โดยอัตโนมัติ

เป็นไงบ้างครับ หวังว่าในอนาคตกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ๆ จะมีระบบขนส่งส่วนบุคคลสาธารณะนี้บ้าง และสามารถทำให้ผู้คนยกเลิกการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้ เมื่อนั้นเมืองไทยของเราคงน่าอยู่ขึ้น ท้องฟ้าก็คงใสมากขึ้น
ที่มา: http://challenge.bfi.org/application_summary/489#