เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ศูนย์แสนรู้เพื่อชุมชน (Genius Information Centre : GIC)

จะดีไหมถ้าแต่ละตำบลจะมีศูนย์ข้อมูลอัจริยะ ที่สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมกันสร้าง ร่วมกันดูแล
การเข้าถึงข้อมูลของประชาชนไทยในปัจจุบัน เป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นต่างจังหวัดที่ห่างไกล การรับข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุชุมชน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านขีดจำกัดในการสืบค้นข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทักษะของผู้สืบค้น(skill) และข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การเข้่าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยหนึ่งทีช่วยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นจะเป็นการดีที่อย่างน้อยหนึ่งตำบลจะมี "ศูนย์แสนรู้" นี้คอยให้บริการ โดยอาจเปิดบริการในบริเวณใกล้เคียงห้องสมุดชุมชนก็ได้

วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
  
ให้สมาชิกในชุมชนได้มีโอกาสร่วมก่อสร้างศูนย์ที่เป็นบ้านดินชั้นเดียว เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว
รูปแบบการให้บริการจะมี 5 ส่วน ใช้เจ้าหน้าที่ประมาณ 4 คน

1) ประชาสัมพันธ์  (1คน)
ทำ หน้าที่รับเรื่อง จัดคิวและวิเคราะห์ในเบื้องต้นว่าผู้ที่มาติดต่อจะต้องติดต่อส่วนงานไหน รวมถึงการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับคำถามง่าย ๆ เช่นถามเส้นทางไปร้าน OTOP xxx หรือโปรแกรมละครหลังข่าว เป็นต้น

ส่วนต้อนรับและรอรับบริการ
2) ส่วนบริการตนเอง (1 คน)
เป็นห้องสมุด ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติของชุมชนนั้น ๆ ทั้งด้านประชากร การปกครอง ด้านเศรษฐกิจและสังคม เทคโนโลยีเกษตรและปศุสัตว์ และข้อมูลและสถิติในระดับประเทศและต่างประเทศที่จัดพิมพ์โดยหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ หนังสือพิมพ์และนิตยสารย้อนหลัง โดยในส่วนบริการตนเองจะมีเครื่องถ่ายเอกสารไว้คอยให้บริการ ซึ่งสามารถถ่ายเอกสารทั้งในรูปแบบ hard copy หรือถ่ายลง storage media ได้ด้วยตนเองหรือให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ
3) การให้บริการโดยเจ้าพนักงาน (2 คน)
ให้บริการในส่วนของข้อมูลที่ไม่พบ หายาก ข้อมูลที่ไม่เป็นการเปิดเผยทั่วไปต้องค้นหาผ่าน database ของหน่วยงานราชการ ห้องสมุดของสถาบันต่าง ๆ  หรือเป็นข้อมูลที่ต้องใช้ทักษะในการสืบค้นชั้นสูง

ส่วนบริการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
4) การสืบค้นด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตแสตนด์แบบหยอดเหรียญใน โซนนี้อาจมีพนักงานคอยให้คำแนะนำในการสืบค้นข้อมูล โดยจะมีลิงค์ไปยังฐานข้อมูลออนไลน์ในเครือข่ายที่เปิดเผยได้ หรือที่ศูนย์แสนรู้เป็นสมาชิก
5) บริเวณพักผ่อน 
สำหรับ รอรับบริการ อาจเป็นส่วนเดียวกับประชาสัมพันธ์ มีข้อมูลด้านขั้นตอนและแนะนำวิธีการใช้บริการของศูนย์แสนรู้ บอร์ดประชาสัมพันธ์ของชุมชน หนังสืออ่านเล่น และร้านกาแฟเครื่องดื่ม

ส่วนบริการสืบค้นโดยเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ศูนย์ GIC นี้จะให้บริการข้อมูลทุกรูปแบบเปรียบเสมือนจินนี่ (หรืออับดุล) ที่รอบรู้ไปซะทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวหรือกิจกรรมใน รูปแบบต่าง ๆ การดูแลตัวเองเบื้องต้น ข่าวสารบ้านเมืองในชุมชนนั้น ๆ , โรงพยาบาลใกล้เคียง, แผนที่, ตำแหน่งงานที่ธุรกิจในชุมชนเปิดรับ, หรือร้านอาหารแนะนำเป็นต้น การคิดค่าบริการจะคิดเฉพาะค่าบริการพิมพ์ข้อมูลหรือถ่ายข้อมูลลง storage media ในราคาถูก

ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
1) ประชาชนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ
2) ประชาชนมีความตื่นตัวในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
3) รัฐบาลสามารถเก็บข้อมูลว่าข้อมูลประเภทใดที่ประชาชนต้องการมากที่สุด เพื่อที่จะได้รู้พฤติกรรมการบริโภคข้อมูลและความสนใจของชุมชน เพื่อจะได้พัฒนาปรับปรุงระบบข้อมูลที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนมากที่ สุด
4) เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้าน information technology และเป็นการรองรับบุคลากรด้านนี้ให้กลับไปทำงานในชุมชนของตน
5) เป็นช่องทางในการกระจายข้อมูล ข่าวสารของรัฐบาลสู่ชุมชน

วิธีวัดผล:

- จำนวนผู้ใช้บริการ
- จำนวนข้อมูล คำถามที่ต้องการ และจำนวนข้อมูลคำถามที่สามารถตอบให้แก่ผู้ใช้บริการได้
- ความพึงพอใจและการได้รับข้อมูลที่ต้องการในกรณีที่ผู้ใช้บริการหาข้อมูลด้วยตนเอง

หมายเหตุ/อื่นๆ: 
- ไ่ม่ใช่อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ และก็ไม่ใช่ห้องสมุด แต่เป็นศูนย์บริการข้อมูล you get what you want by yourself.
- ลดการเก็บเอกสารบางอย่างในรูปแบบ hard copy เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บ และขนาดของศูนย์ให้น้อยที่สุด โดยจัดให้มีหน่วยงานกลางเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับห้องสมุดแห่งชาติ ที่ได้ถ่ายหนังสือพิมพ์ นิตยสารย้อนหลังไว้ในรูปแบบของ file เพื่อให้ง่ายสำหรับการสืบค้นโดยศูนย์แสนรู้ทั่วประเทศ
- ต้องพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
- ต้องมีการอบรมทักษะในการค้นหาข้อมูลให้แก่ชาวบ้าน
- มีการลงทะเบียน และเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการและประเภทข้อมูลที่ต้องการอย่างเป็นระบบ
- ต้องทำให้ศูนย์แสนรู้่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ดังนั้นต้องไม่จำกัดประเภทของข้อมูลที่ให้บริการ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับความมั่นคง, ขัดต่อศีลธรรมอันดี,  และที่ไม่เป็นประโยชน์สุด ๆ เช่นเรื่องดาราแย่งสามีชาวบ้าน เป็นต้น) ต้องตอบคำถามเรื่องลมฟ้าอากาศ, สูตรอาหารหรือให้ข้อมูลแนะนำร้านขายรถอีแต๋นที่ใกล้ที่สุดได้

...............................................................................................................................

ฝันที่ใกล้จะเป็นจริง: โซล่าเซลล์ราคาถูกและยั่งยัน

โซลาร์ เซลล์แห่งอนาคตที่ได้แรงบันดาลใจมากจากสาหร่ายทะเล
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการจำลองโครงสร้างการสังเคราะห์แสงของพืช มาใช้ผลิตโซลาร์เซลล์แห่งอนาคต ที่มีราคาถูก และสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ดังนั้นอายุการใช้งานจึงเท่ากับ "นิรันดร์"

ความสำเร็จในครั้งนี้จะทำให้แผงโซล่าร์เซลล์ มีราคาถูกลง และกลายเป็นอุปกรณ์ประจำบ้าน ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างคุ้มค่า นักวิทยาศาสตร์ได้จำลองกระบวนการสังเคราะห์แสงของเซลล์พืช ที่มีคลอโรพลาสต์ซึ่งมีความไวต่อแสงสูง โดยคลอโรพลาสต์นี้จะดักจับแสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ที่สำคัญที่สุดปัญหาเรื่องโซลาร์เซลล์ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานและแสง แดดที่แผดเผาจะหมดไป เนื่องจากโซลาร์เซลล์นี้สามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาได้เอง เหมือนกับโมเลกุลในคลอโรพลาสต์ของพืชที่จะสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่อยู่ตลอด เพื่อใช้ดักจับแสง โดยนักวิจัยกลุ่มนี้อ้างว่าโซล่าร์เซลล์แห่งอนาคตนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่า โซล่าร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบันถึง 2 เท่าทีเดียว

เป็นไงครับธรรมชาตินี่น่าอัศจรรย์จริง ๆ และเป็นแรงบันดาลใจแก่นักวิทยาศาสตร์ในการคิดค้นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและยั่งยืน


ที่มา: www.spiegel.de
.........................................................................................................................
ทางม้าลายที่รถคันไหนก็ต้องจอด 
(Laser Wall Pedestrian Crossing)
laser wall นวัตกรรมใหม่สำหรับคนเดินถนน?
คนไทยมีวินัยในการขับรถที่แย่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก ในฐานะที่เป็นคนเดินถนนมืออาชีพคนหนึ่ง ปัญหาที่พบเสมอคือคนขับรถชาวไทย ไม่ค่อยหยุดให้คนข้ามถนนตรงทางม้าลาย หลายรายพอเห็นคนกำลังจะข้ามแทนที่จะชะลอ กลับรีบเหยียบคันเร่ง กะว่าจะให้ตายไปข้างหนึ่ง (ใครว่าไม่จริงบ้าง) ทั้งๆ ที่กฏหมายก็บอกไว้ชัดเจนว่าคนขับรถจะต้องหยุดที่ทางม้าลายเมื่อเห็นคนกำลัง จะข้าม ใบขับขี่ก็สอบมาแล้ว แต่ไหงทำไมพฤติกรรมการขับรถของคนไทยยังแย่ แล้งน้ำใจขนาดนี้

ผมก็นั่งคิดวิธีว่าทำ อย่างไรให้คนขับรถต้องหยุดให้คนข้ามถนน ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิดทั้งจริง ทั้งหลอกที่พอรถคันไหนไม่หยุด เซ็นเซอร์ที่ฝังบนพื้นถนนก็จะสั่งการให้กล้องทำการถ่ายภาพทันทีเพื่อใช้เป็น หลักฐานมัดผู้กระทำผิด วิธีนี้ผมมั่นใจว่าประเทศไทยคงจะได้ลืมหูลืมตาจากค่าปรับแน่ ๆ รัฐบาลจะได้มีเงินไปปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้กับผู้เดินถนน เช่นไปทำ "ฟุตบาทย้าวววยาว" หรือทำอุโมงค์เดินลอดใต้ถนนให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

หนึ่ง ในความคิดที่ออกจะหลุด ๆ หน่อยก็คือ laser wall นำมาใช้กั้นให้คนเดินข้าม วิธีนี้จะทำให้คนขับรถเห็นไฟแดงและหยุดให้คนข้ามได้อย่างชัดเจน เลยได้ลองวาดภาพที่ได้จินตนาการไว้ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เข้าไปเห็นไอเดีย laser wall ของฝรั่งเข้า โอ้ว มันช่าง speaks my mind อะไรเช่นนี้! แต่ที่ล้ำคือ เค้าจะมีกราฟฟิกเคลื่อนไหวเป็นรูปคนข้ามถนนด้วยนี่สิ ถ้าเอามาใช้ที่เมืองไทยสงสัยคนขับรถหลายคนคงจะต้องจอดรอเพื่อจะดู animation บน laser wall แน่ๆ มาดูรูปกันครับ


ผม ยังคิดไว้ว่าถ้าเราฝัง RFID ชิปไว้ที่ป้ายทะเบียนรถทุกคัน โดยในชิปนี้ให้ลิงค์กับบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของเจ้าของรถ และก็ปล่อยสัญญาณ (อะไรก็ตาม) มากับแสงเลเซอร์เหล่านี้ รถคันไหนที่ขับฝ่า laser wall ก็จะถูกหักคะแนนและค่าปรับโดยอัตโนมัติทันที และก็จะรายงานผลไปเก็บไว้เป็นบัญชีดำต่อไป

ที่มา: http://www.gadgetvenue.com