เกริ่นนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Ideas for Thailand ครับ Blog นี้มีัวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคอลเลคชั่นที่รวบรวมและแบ่งปัน "นวัตกรรมทางความคิด" ในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสังคมในระดับมหภาคจากนักคิดเชิงนวัตกรรมสมัครเล่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นไอเดียสำหรับนำไปปรับใช้พัฒนาประเทศไทยของเรา ขอเชิญร่วมแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับ

คุณภาพชีวิต

คืนรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้คนไทย (Mission 555)

 ฤายิ้มสยามจะกลายเป็นตำนาน?
นักท่องเที่ยวหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเมืองไทย ยังเป็น "สยามเมืองยิ้ม" อยู่หรือไม่ สาเหตุเนื่องจากวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันกำลังถูกความจำเป็นในการดำรง ชีวิต ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง กดดันทำให้รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคนไทยเลือนหายไป พร้อมกับการเติบโตของค่านิยมความสุขที่เกิดจากการมีการได้รับ และการครอบครองวัตถุ ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีความเจริญทางวัตถุในระดับต่ำ แต่กลับกลายเป็นสังคมที่มีความสุขที่สุดในโลก เนื่องจากค่านิยมของคนในสังคมเรื่องการให้และการแบ่งปัน เข้ามาอ่านวิธีเพิ่มเสียงหัวเราะกันครับ รับรองว่าคุณจะต้องมีความสุข

แม้การเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องการให้และการแบ่งปัน จะเป็นโครงการที่ใช้เวลานาน แต่สามารถเริ่มจากการจัดตั้งโครงการนำร่องระยะเวลาสั้น ๆ  โดยจัดตั้ง "ชุดเฉพาะกิจกระจายความสุข" ขึ้น โดย ฉ.ก. นี้มีพันธกิจในการสร้างความสุขและเสียงหัวเราะโดยไม่หวังผลตอบแทนหรือมีวาระ ซ่อนเร้นอื่นใด เพื่อให้เป็นต้นแบบตัวอย่างแก่ประชาชนและองค์กรธุรกิจว่าความสุขเกิดจากการ ให้และการแบ่งปัน และเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่จะทำให้เมืองไทยเป็นประเทศที่มี ความสุข และประชากรมีสุขภาพจิตที่ดี

ความสุขที่เกิดจากการให้และการแบ่งปัน
โดยหน้าที่หลักของ ฉ.ก. คือกาีรเฟ้นหาบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง คิดจัดวิธีเพิ่มความสุขและเสียงหัวเราะผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วง 3 เดือนนี้ เช่นละครสด, performance art, ตลก reality, การแสดงที่ดูบ๊อง ๆ แต่ทำให้คนยิ้มได้, การแสดงละครใบ้, รวมไปถึงการเพิ่มอารมณ์ขันและบรรยากาศสบาย ๆ ในขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ข้างล่างนี้เป็นบางตัวอย่างครับ

ตู้ผลิตความสุข

กอดฟรี ๆ ไม่คิดตังส์

มาเต้นคลายเครียดกันเถอะ

ขอกระดาษเช็ดโต๊ะหน่อย!

สำหรับสถานที่จัดกิจกรรมให้อยู่ในการพิจารณาของชุดฯ โดยเลือกสถานที่ ๆ คนมีความเครียดมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด, บนรถไฟฟ้า, subway, ตามอาคารสำนักงานออฟฟิศ หรือตามต่างจังหวัดให้จัดละครเร่ ตลก หรือหนังกลางแปลง ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ เป็นต้น

แนวทางระยะยาว:
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องกำหนดแนวทางและกิจกรรมเพิ่มความสุขให้กับ ประชาชน พนักงาน หรือลูกค้าที่ใช้บริการ ไว้ในการวางแผนประจำปี โดย " ชุดเฉพาะกิจการกระจายความสุข" จะพัฒนาเป็น"โรงงานความสุข" (Happiness Factory)สังกัด องค์กรภาครัฐ ทำหน้า่ที่ประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเช่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงกีฬาฯ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์แห่งความสุข ผ่านการจัดกิจกรรม, ให้คำปรึกษาแก่องค์กร หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องการไอเดีย

การวัดผล:  นับจำนวนเสียงหัวเราะ (โดยให้ทุกคนจ่ายค่าตอบแทนความสุขด้วยการลงชื่อ)

ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
- คนไทยจะมีความสุขและมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น
- ปลูกฝังแนวคิดเรื่องความสุขเกิดจากการให้และแบ่งปัน
- ส่งเสริมศิลปะประเภท performance art
...............................................................................................................................
พาแม่เข้าสถานบันเทิง (Hanging Out Mama)


ทุกวันนี้เกิดปัญหามากมายจากการไปเที่ยวผับ บาร์ของวัยรุ่นและคนวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุราอย่างหนัก และ ความสนุกที่เกินขอบเขต ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และการขับรถขณะมึนเมา และปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ แม้จะไม่สามารถปฏิเสธประสิทธิผลของการแก้ไขเชิงปราบปรามผ่านกฎระเบียบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานของรัฐ แต่ความพยายามในการละเมิด ขัดขืนข้อบังคับยังมีอยู่เนื่องจากเป็นการแก้ไขที่มาจากภายนอก ไม่ใช่มาจากจิตสำนึกที่อยู่ภายในของนักเที่ยว

วิธีการแก้ไข:
แก้ไขเชิงบังคับผ่านกฎระเบียบ ควบคู่กับการกระตุ้นที่จิตสำนึกของนักเที่ยว เนื่องจากหลายคนเมื่ออยู่ท่ามกลางหมู่เพื่อนและบรรยากาศที่ถูกกระตุ้นด้วย เสียงเพลง จะทำให้เที่ยวสนุกสนานจนลืมตัว เนื่องจากผู้ที่มีอิทธิพลทางจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่คือ "แม่" ดังนั้นต้องขอความร่วมมือเชิงบังคับให้สถานบันเทิงต่าง ๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการนำ "แม่" และ "คำพูดของแม่" ไป ติดในสถานบันเทิงในที่ ๆ เห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นทางเข้า ทางออก หรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการประพฤติผิด เพื่อให้นักเที่ยวเกิดการยับยั้งชั่งใจ

ตัวอย่าง

ป้ายแบบนี้ติดไว้ที่ทางเข้า ไม่ได้เป็นการส่งเสริมแต่เป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจในวัยรุ่น

ป้ายลักษณะนี้ติดไว้ให้เห็นชัดในแหล่งบันเทิง


ป้ายนี้ติดที่ทางออก เตือนสตินักเที่ยวให้รู้ว่าเค้ามีความสุขแค่ไหนที่ได้กลับไปนอนในอ้อมอกแม่

ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
-จะช่วยเตือนใจนักเที่ยวให้เที่ยวอย่างมีสติ และ think twice ก่อนที่จะประพฤติปฏิบัติจนเกินขอบเขต
-ช่วยลดปัญหาอาชญากรรม การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ การทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับและความคึกคะนอง

การวัดและประเมินผล:
1) เปรียบเทียบอัตราการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อคนในสถานบันเทิงที่ร่วมโครงการ กับที่ยังไม่ร่วมโครงการ
2) เปรียบเทียบระยะเวลาที่นักเที่ยวใช้ในสถานบันเทิงที่ร่วมโครงการและที่ยัง ไม่ร่วมโครงการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในเวลาที่นักเที่ยวใช้ในสถานบริการก่อนและหลังที่ร่วม โครงการ

หมายเหตุ/อื่นๆ: 
- เลือกบุคคลที่ดูหน้าตาใจดีเหมือน "แม่"  โดยดูจากกลุ่มอายุของนักเที่ยวตามจุดต่าง ๆ ถ้าอยู่ในช่วงระหว่าง 18-20 ปี แม่ที่เหมาะสมควรมีอายุระหว่าง 35-45 ปี เป็นต้น
- เลือกภาพที่ก่อให้เกิดความรู้สึกในความรักของแม่
- หากโครงการนำร่องเกิดประสิทธิผลในการนำไปใช้ อาจจะปรับใช้กับบริบทอื่น เช่น "พาลูกหรือครอบครัวเข้าสภา" เพื่อให้ส.ส.ไม่คดโกงและปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อครอบครัว

...............................................................................................................................
ฟุตบาทย้าวยาววววว (Yaw Yaw Footpath)

จะดีไหมถ้าเรามีฟุตบาทยาว ๆ ให้เดิน ให้วิ่ง  และยังช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดกับคนเดินเท้าและผู้ขับขี่ยวดยาน
ปัจจุบันปัญหาของผู้ใช้ฟุตบาทไม่ว่าจะเป็นคนเดินถนนหรือ คนขี่จักรยาน คือมีอุปสรรคมากมายกีดขวางบนฟุตบาท ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่ แผงลอย ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้า รถยนต์มอเตอร์ไซค์ที่ใช้ฟุตบาทเป็นถนนหรือที่จอดรถ หลุมบ่อ ผ้าใบกันสาด และ น้ำทิ้งที่ต่ออกจากจากอาคารพาณิชย์ริมทาง ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคือ ฟุตบาทมีทางขึ้นลงมากเกินไปไม่ยาวต่อเนื่อง บางแห่งฟุตบาทสั้นเพียงแค่ 50 เมตร ก็ต้องขึ้น ๆ ลงๆ บ่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหากับผู้ใช้รถเข็น ผู้ขับขี่จักรยาน และคนเดินเท้าที่อาจเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มจากการต้องคอยขึ้น ๆ ลง ๆ ฟุตบาท

ฟุตบาทตามท้องถนนเมืองไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีทางลาด และยังขาดตอนเป็นระยะ ๆ ตามจำนวนบ้านพักอาศัยริมถนนและซอยเล็กซอยน้อย
วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
ทำฟุตบาทให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น โดยเริ่มทำเป็นตัวอย่างที่ถนนบางสายก่อน โดยฟุตบาทต้องสูงในระดับเดียวกันตลอดสาย ยกเว้นฟุตบาทที่มีถนนหลักสายใหญ่ตัดผ่าน ส่วนถนนเล็ก ๆ หรือซอยและทางเข้าออกห้างร้านบ้านเรือนต่างๆ  ถ้าจะทำทางออกจะต้องยึดระดับฟุตบาทเป็นหลัก ถ้าตั้งอยู่ในที่สูงกว่าฟุตบาท ก็ต้องทำลงมาให้เสมอฟุตบาท ถ้าต่ำกว่าก็ต้องทำ slope ขึ้นมาให้เสมอฟุตบาท

วิธีดังกล่าวเป็นการผสานทางม้าลา่ยและ "เนินสะดุด" ซึ่งเป็นนวัตกรรมถนนในซอยที่ปรากฏเฉพาะในเมืองไทยเข้าด้วยกัน เมื่อทำไว้ที่ปากซอย นอกจากคนเดินถนนจะได้ฟุตบาทที่ต่อเนื่องและมีความปลอดภัยมากขึ้นแล้ว ยังจะเป็นการชะลอความเร็วรถที่เข้าสู่ถนนหลักและเข้าซอย ซึ่งจะืทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ด้วย
สามารถประยุกต์แนวคิดนี้ไปใช้กับทางฟุตบาทหน้าปากซอย



รถที่ออกสู่ถนนใหญ่จะชะลอความเร็ว ปลอดภัยทั้งคนเดินถนน ปลอดภัยทั้งผู้ขับขี่ยวดยาน
 ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
1) ฟุตบาทจะมีความยาวต่อเนื่องมากขึ้น คนเดินถนนจะได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น
2) ฟุตบาทสามารถใช้วิ่งออกกำลังกาย ใช้ขี่จักรยานสันทนาการได้ และคนอยากเดินบนฟุตบาทมากขึ้น
3) เป็นการทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนตระหนักว่าคนเดินเท้าต้องมาก่อนเสมอ เนื่องจากการทำทางออกมาสู่ถนนใหญ่จะต้องยึดระดับของฟุตบาทเป็นเกณฑ์
4) ทำให้รถที่ออกมาจากซอยชะลอความเร็วลงก่อนออกไปถนนหลัก และรถที่จะเข้าซอยชะลอความเร็วลงเพื่อระวังคนและรถที่อยู่ในมุมอับ
5) ฟุตบาทที่สร้างไว้จะไม่ต้องถูกรื้อเพื่อทำทางออกใหม่ ประหยัดงบประมาณของประเทศ

ยกระดับฟุตบาทให้อยู่ในแนวเดียวกัน จะได้ฟุตบาทที่ยาวต่อเนื่องเหมาะกับการเดิน ขี่จักรยาน ออกกำลังกาย
หมายเหตุ/อื่นๆ: 
สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปเพื่อให้ฟุตบาทน่าเดินคือ
1) จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ถ้าจะผ่อนผัน ก็ต้องให้มีเพียงด้านเดียวของฟุตบาท ห้างร้านริมทางเดินต้องไม่เบียดบังพื้นที่ริมฟุตบาท มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้า ต้องกวดขันเด็ดขาดให้ออกไปจากฟุตบาท
2) กล้องวงจรปิดสำหรับการจราจร ต้องให้เห็นทั้งถนนใหญ่และฟุตบาทด้วย จะได้คอยสอดส่องดูแลผู้ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์บนฟุตบาท
3) จัดระเบียบกันสาด ของแผงลอยที่กีดขวางฟุตบาท รวมไปถึงท่อน้ำทิ้งจากหลังคา ต้องต่อลงท่อใต้ดินไม่ใช่ต่อท่อน้ำทิ้งลงมาที่ฟุตบาทใส่หัวคนเดินถนน
4) ปรับกฏหมายให้อภิสิทธิ์แก่ผู้เดินเท้าสำคัญที่สุด รองลงมาเป็นจักรยาน สำหรับรถที่ออกจากซอยต้องหยุดให้ทางคนเดินบนฟุตบาทเสมอ

...............................................................................................................................

ทาสีใหม่ คืนชีวิตใหม่ให้กับเมือง (Colour the City, Colour the Life)



กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่ไร้รสนิยมแห่งหนึ่งของโลก ตึกรามบ้านช่องไร้เอกลักษณ์และความงามตามสถาปัตยกรรม เน้นการใช้งานมากกว่าความสวยงามและทัศนียภาพของเมือง เมื่อเวลาผ่านไปตึกและอาคารพาณิชย์เหล่านี้แลดูเ่ก่าเนื่องจากไร้การดูแล สีที่หลุดร่อน  คราบตะไคร่น้ำ และ grafiti บนกำแพง ทำให้เมืองฟ้าอมรแห่งนี้อัปลักษณ์ลงทุกที นอกจากนี้สีเ่ก่าที่หลุดร่อน ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารพิษในสีเช่นตะกั่วในอากาศ และเป็นพิษต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป

ถ้าตึกนี้ได้รับการอนุรักษ์และทาสีใหม่ คงจะสวยใสไฉไลเป็นอย่างมาก
วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
1) กำหนดให้ที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศต้องได้รับการตรวจสอบสภาพจากเจ้าหน้าที่ทุก 10 ปี
2) กำหนดให้ที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทาสีใหม่ทุก 10 ปี และ/หรือเมื่อสีเดิมหลุดร่อน หรือ/และดูเสื่อมโทรมดูอุดจาดตา

ภาพที่เห็นกันจนชินในเมืองไทย
3) ในกรณีที่เป็นห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์หลายคูหา ต้องทาสีให้เหมือนกันทั้งหมด และเป็๋นสีที่เข้ากับทัศนียภาพโดยรวม
4) เงินค่าใช้จ่ายสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีโรงเรือนได้บางส่วน
5) หากทางการได้แจ้งไปแล้วแต่ยังไม่ดำเนินการ ทางการจะว่าจ้างบริษัทฯ เอกชนไปซ่อมแซมหรือทาสีให้ โดยค่าใช้จ่ายและค่าปรับจะตกอยู่กับเจ้าของอาคารเหล่านั้น และไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
น่ารักหรืออุดจาด?
ผลที่น่าจะเกิดขึ้น: 
- เมืองไทยสวยงามสดใสมากขึ้น
- เพิ่มการจ้างงานให้แก่บริษัทรับเหมาซ่อมแซมและทาสีอาคาร
- ประชาชนได้รับความปลอดภัยมากขึ้นทั้งจากการซ่อมแซมตึกและจากสารพิษในสีเก่าที่หลุดร่อน

ดูสบายตาสบายใจ

ทาสีในโทนเดียวกัน มองแล้วสวยงาม


ไม่ต้องใหญ่โตอะไร แค่ทาสีใหม่ให้อยู่ในโทนเดียวกันก็ดูสวยได้
.....................................................................................
ห้องเรียนสำหรับผู้สูงวัย (Senior Back to School)
ผู้สูงอายุทุกคนฝันอยากมีชีวิตหลังเกษียณที่มั่นคงและมีความสุข
ปัจจุบันและในอนาคต จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุหลายท่านต้องถูกทอดทิ้งให้อยู่กับบ้านตามลำพัง นอกจากนี้ยังเป็นการสูญเปล่าเนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านี้ผ่านประสบการณ์ ชีวิตมามาก ชีวิตในวัยเรียนเป็นชีวิตที่มีความสุข เนื่องจากได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในห้องและได้พบประเพื่อนฝูงและสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงคิดว่าการนำผู้สูงอายุเข้าสู่ห้องเรียนอีกครั้งจะทำให้เค้าเหล่า นั้นมีความสุขในวัยเกษียณได้

วิธีแก้ไขดำเนินการ: 
กำหนดให้สถาบันการศึกษาในชุมชนต่าง ๆ จัดหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเริ่มต้นให้อำนวยการสอนโดยคณาจารย์ในโรงเรียนที่มีความสามารถสอนผู้สูง อายุ ในลำดับต่อไปอาจขอการสนับสนุนอาจารย์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา สำหรับผู้สูงอายุ หรือรับสมัครผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการสอนผู้สูงอายุด้วยกัน แต่ละหลักสูตรยาวประมาณ 1 เดือน ใช้่เวลา 24 ชั่วโมง คาบละ 3 ชั่วโมง เรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์

วิชาส่วนใหญ่เน้นสันทนาการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน:
- สถานศึกษาต้องมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นผู้สอน และสถานที่เช่นห้องเรียนที่กว้างเข้าออกสะดวก ห้องน้ำที่สะอาด มีราวจับ มีห้องหรือกิจกรรมสำหรับให้ลูกหลานทำระหว่างรอ
- ระยะเตรียมการจัดหลักสูตรนำร่อง 2 เดือน เพื่อหาวิทยากร รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และปรับปรุงสถานที่และสื่อการสอน
- ระยะดำเนินการ 1 เดือน โดยเสนอสองหลักสูตร เพื่อประกันว่าผู้สูงอายุจะมีทางเลือกในการสมัครเรียนและอยู่ในโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ให้มีการประเมินผลโดยหน่วยงานกลางควบคู่กันไปตั้งแต่ระยะเตรียมการจน จบหลักสูตร

ทักษะการขับขี่จักรยานเพื่ือสุขภาพอย่างปลอดภัย
- อาจมีการเก็บเงินจากผู้เข้าร่วมโครงการบางส่วน เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมาเรียนครบตามหลักสูตร และได้รับเงินคืนเมื่อผ่านเกณฑ์ของรายวิชานั้น ๆ
- ประกาศนียบัตรชั้นต้นเมื่อผ่านวิชาบังคับ 4 วิชา
  ประกาศนียบัตรชั้นกลาง 8 วิชา (4 วิชาบังคับ + 4 วิชาเลือกจากอย่างน้อย 2 หมวดวิชา)
  ประกาศนียบัตรชั้นสูง 12 วิชา ( 4 วิชาบังคับและ 8 วิชาเลือกจากอย่างน้อย 3 หมวดวิชา)+1 workshop
- ผู้ที่ผ่านหลักสูตรและได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง ถือได้ว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและจะได้รับเงินประกันสังคมเพิ่มอีก 500 บาท / เดือน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
ทักษะการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
วิธีวัดผล: จำนวนผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งจากความรู้และความเพลิดเพลินที่ได้รับจากห้องเรียน และจากเงินประกันสังคมที่ได้รับเพิ่ม 500 บาท / เดือน ในกรณีที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงแล้ว
2) ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาอย่างมีประโยชน์ ได้รู้คุณค่าและความหมายของชีวิตหลังเกษียณ และเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการเบื่อหน่ายในชีวิต

วิชางานฝีมือ
3) มีโอกาสได้พบปะกัับเพื่อนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านกิจกรรมในห้องเรียน ผ่านการเป็นอาจารย์สอน หรือผ่านการเป็นวิทยากรบอกเล่าเรื่องราวชีวิตให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา
4) ได้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่างบุตรหลานในวันหยุดเสาร์อาทิตย์
5) เพิ่มบทบาทของสถานศึกษาในชุมชนให้มีบทบาทในการเรียนรู้ตลอดชีพ (Life Time Learning) ของประชาชนในท้องที่
6) เป็นการยกระดับระบบประกันสังคมของประเทศไทยไปในตัว

เติมช่องว่างระหว่างวัย
ตัวอย่างหลักสูตร:
วิชาบังคับ 4 วิชาได้แก่
1) พื้นฐานการเป็นปู่ย่าตายายที่ดี
2) การดูแลร่างกายสำหรับผู้สูงวัย
3) การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
4) การบริหารการเงินสำหรับผู้สูงอายุ

พื้นฐานการเป็นปู่ย่าตายายที่ดี
วิชาเลือก 4 หมวดวิชา
หมวดวิชาการ
   5) คอมพิวเตอร์พื้นฐาน อินเตอร์เน็ต
   6) ศาสนาและปรัชญา
   7) ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน
   8) การปฐมพยาบาลด้วยตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุ
หมวดสันทนาการ
  9) เกมส์สำหรับเล่นบนโต๊ะ: เช่นหมากรุก หมากฮอส หมากกระดาน โก๊ะ ปิงปอง black gammon
  10) งานอดิเรก: เช่นปลูกต้นไม้ เพาะพันธุ์ปลา การดูแลสัตว์เลี้ยง เทคนิคการดูพระเครื่อง การวาดภาพ
  11) การฝึกสมาธิและเทคนิคการพักผ่อนทางจิตใจ
  12) การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนและทัศนศึกษา: ให้ผู้สูงอายุได้รอบรู้ถึงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในประเทศ
หมวดวัฒนธรรม
  13) เต้นรำ: ฟ้อนรำสี่ภาค ลีลาศเพื่อสุขภาพ
  14) ดนตรี: ความรู้ด้านดนตรีไทย สุนทราภรณ์ ดนตรีสากลคลาสสิค ขับร้องคาราโอเกะ
  15) วรรณคดีไทยและสากล
   16) ศิลปะไทยและสากล
หมวดอาชีพเสริม
   17) โหราศาสตร์ประยุกต์ ฮวงจุ้ย การดูไพ่ทาโร่
   18) โภชนาการและการประกอบอาหาร
   19) หัตถกรรมและการประดิษฐ์ เช่นถักเสื้อไหมพรม โครเชต์ ร้ิอยพวงมาลัย
   20) การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านไทย
work shop เสริมสร้างทักษะการถ่ายทอดความรู้ 3 วิชา
   21) ฝึกการถ่ายทอดประสบการณ์สู่คนรุ่นลูกหลาน: เช่นเรื่องการประกอบธุรกิจ การใช้ชีวิตที่ดีงาม การเลี้ยงดูบุตร
   22) การจัดนิทรรศการและโครงงานอิสระ
   23) การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นวิทยากรสำหรับโครงการฯ

วิชาจัดนิทรรศการและโครงงานอิสระเพื่อเพิ่มทักษะการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน

.....................................................................................

ทางม้าลายที่รถคันไหนก็ต้องจอด 
(Laser Wall Pedestrian Crossing)
laser wall นวัตกรรมใหม่สำหรับคนเดินถนน?
คนไทยมีวินัยในการขับรถที่แย่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก ในฐานะที่เป็นคนเดินถนนมืออาชีพคนหนึ่ง ปัญหาที่พบเสมอคือคนขับรถชาวไทย ไม่ค่อยหยุดให้คนข้ามถนนตรงทางม้าลาย หลายรายพอเห็นคนกำลังจะข้ามแทนที่จะชะลอ กลับรีบเหยียบคันเร่ง กะว่าจะให้ตายไปข้างหนึ่ง (ใครว่าไม่จริงบ้าง) ทั้งๆ ที่กฏหมายก็บอกไว้ชัดเจนว่าคนขับรถจะต้องหยุดที่ทางม้าลายเมื่อเห็นคนกำลัง จะข้าม ใบขับขี่ก็สอบมาแล้ว แต่ไหงทำไมพฤติกรรมการขับรถของคนไทยยังแย่ แล้งน้ำใจขนาดนี้

ผมก็นั่งคิดวิธีว่าทำอย่างไรให้คนขับรถต้องหยุดให้คนข้ามถนน ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิดทั้งจริง ทั้งหลอกที่พอรถคันไหนไม่หยุด เซ็นเซอร์ที่ฝังบนพื้นถนนก็จะสั่งการให้กล้องทำการถ่ายภาพทันทีเพื่อใช้เป็น หลักฐานมัดผู้กระทำผิด วิธีนี้ผมมั่นใจว่าประเทศไทยคงจะได้ลืมหูลืมตาจากค่าปรับแน่ ๆ รัฐบาลจะได้มีเงินไปปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้กับผู้เดินถนน เช่นไปทำ "ฟุตบาทย้าวววยาว" หรือทำอุโมงค์เดินลอดใต้ถนนให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

หนึ่งในความคิดที่ออกจะหลุด ๆ หน่อยก็คือ laser wall นำมาใช้กั้นให้คนเดินข้าม วิธีนี้จะทำให้คนขับรถเห็นไฟแดงและหยุดให้คนข้ามได้อย่างชัดเจน เลยได้ลองวาดภาพที่ได้จินตนาการไว้ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เข้าไปเห็นไอเดีย laser wall ของฝรั่งเข้า โอ้ว มันช่าง speaks my mind อะไรเช่นนี้! แต่ที่ล้ำคือ เค้าจะมีกราฟฟิกเคลื่อนไหวเป็นรูปคนข้ามถนนด้วยนี่สิ ถ้าเอามาใช้ที่เมืองไทยสงสัยคนขับรถหลายคนคงจะต้องจอดรอเพื่อจะดู animation บน laser wall แน่ๆ มาดูรูปกันครับ


ผมยังคิดไว้ว่าถ้าเราฝัง RFID ชิปไว้ที่ป้ายทะเบียนรถทุกคัน โดยในชิปนี้ให้ลิงค์กับบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของเจ้าของรถ และก็ปล่อยสัญญาณ (อะไรก็ตาม) มากับแสงเลเซอร์เหล่านี้ รถคันไหนที่ขับฝ่า laser wall ก็จะถูกหักคะแนนและค่าปรับโดยอัตโนมัติทันที และก็จะรายงานผลไปเก็บไว้เป็นบัญชีดำต่อไป

ที่มา: http://www.gadgetvenue.com

.....................................................................................
 
โดมหลังนี้มีรัก
(Shelter for the homeless)


หนุ่ม น้อย Max Wallack ได้ออกแบบโดมสำหรับผู้ไร้ที่อยู่ ที่ทำขึ้นจากลวด ถุงพลาสติก และเม็ดโฟมกันกระแทก จนชนะใจกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ “Trash to Treasure” design contest ที่จัดโดย WGBH จากจำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่แปรรูปมาจากของเหลือใช้กว่า 1,000 ชิ้น ในประเทศตะวันตกนั้นคนไม่มีบ้านอยู่นี่ลำบากจริง ๆ สภาพอากาศที่หนา่วเหน็บเข้ากระดูก ก็คือฝันร้ายดี ๆ ของพวกเค้านี่เอง น่าชื่นชมหนุ่มน้อยคนนี้จริง ๆ เพราะอายุเพียงแค่ 12 ขวบ แต่มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมโลก และยังรู้จักใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้ ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาจากขยะไปในตัว น่าส่งเสริมให้เด็กไทยสนใจแก้ปัญหาที่อยู่รอบตัวแบบนี้บ้างนะครับ



สำหรับ เมืองไทยแล้ว คงต้องศึกษากันอีกนิดว่าเหมาะกับภูมิอากาศในบ้านเราหรือเปล่า หลายคนอาจจะมองว่าถ้ามีแล้วจะทำให้คนจรจัดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า  แต่อย่างไรก็ตามถึงเวลาที่รัฐบาลไทย และคนไทยต้องเริ่มหันมามองและช่วยแก้ปัญหาผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกันบ้างนะครับ อย่าทำเสมือนว่าพวกเค้าไม่มีตัวตนอีกเลย