โอท็อป เรากำลังหลงทางอยู่หรือเปล่า...?
ความแตกต่างระหว่างศูนย์ OTOP จังหวัดอุตรดิตถ์ กับงานแสดงสินค้า OTOP ที่เมืองทองธานี |
ปัจจุบัน"งานแสดงสินค้าโอท็อป" กำลังกลายเป็น"งานขายสินค้าโอท็อป" วัตถุประสงค์เดิมของผู้จัดที่ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยชุมชน กำลังถูกบิดเบือนกลายเป็นงานขายสินค้าที่ทุกฝ่ายมุ่งหวัง "จำนวน" เป็น หลัก ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้เข้าชมงาน (หรือนักช้อป) จำนวนเงินที่หมุนเวียนในงาน หรือจำนวนร้านที่ให้ความสนใจมาร่วมงาน เป็นต้น แม้ว่าทุกฝ่ายจะพอใจกับผลสำเร็จของงานโอท็อป ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ผู้จัด ชุมชน และขาช้อป แต่ปัญหาีที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลกำลัง"หาปลา"ให้ชุมชนเหล่านี้ มากกว่าสอนให้เค้าหาปลาด้วยตัวเองซึ่งจะเป็นการแนวทางที่ยั่งยืนมากกว่า
รัฐบาลกำลัง"จัดตลาด" ให้กับชุมชน มากกว่าที่จะให้ชุมชนเหล่านี้หาตลา่ดด้วยศักยภาพภายในของเค้าเอง ศูนย์โอท็อปในชุมชนต่าง ๆ ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีใครเข้าไปเยี่ยมชม นักช้อปในกรุงก็รองานโอท็อป ซึ่งปัจจุบันงานใหญ่ ๆ ก็จัดกันปีละ 2 ครั้งอยู่แล้ว ไม่นับรวมงานย่อย ๆ ชุมชนเองก็ไม่สนใจที่จะพัฒนาตลาดในท้องถิ่นด้วยตัวเอง ได้แต่รอฟันกำไรในตลาดที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าโอท็อป ไม่ถูกเลยแม้ว่าผู้มาออกงานจะไม่ต้องเสียค่าเช่าก็ตาม ดังนั้นงานโอท็อปจึงเป็นเทศกาลที่พ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาาสทำกำไร จากตลาดที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และก็ยุ่งแต่กับการขายสินค้าให้นักช้อปรายย่อย จนทำให้มีเวลาน้อย หรือไม่มีเลย (บางรายก็ทำตาเขียวใส่) ที่จะพบปะพูดคุย ให้ข้อมูลสินค้า สร้างโอกาสทางธุรกิจกับนักลงทุน
รัฐบาลกำลัง"จัดตลาด" ให้กับชุมชน มากกว่าที่จะให้ชุมชนเหล่านี้หาตลา่ดด้วยศักยภาพภายในของเค้าเอง ศูนย์โอท็อปในชุมชนต่าง ๆ ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีใครเข้าไปเยี่ยมชม นักช้อปในกรุงก็รองานโอท็อป ซึ่งปัจจุบันงานใหญ่ ๆ ก็จัดกันปีละ 2 ครั้งอยู่แล้ว ไม่นับรวมงานย่อย ๆ ชุมชนเองก็ไม่สนใจที่จะพัฒนาตลาดในท้องถิ่นด้วยตัวเอง ได้แต่รอฟันกำไรในตลาดที่รัฐจัดให้ในกรุงเทพ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าโอท็อป ไม่ถูกเลยแม้ว่าผู้มาออกงานจะไม่ต้องเสียค่าเช่าก็ตาม ดังนั้นงานโอท็อปจึงเป็นเทศกาลที่พ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาาสทำกำไร จากตลาดที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และก็ยุ่งแต่กับการขายสินค้าให้นักช้อปรายย่อย จนทำให้มีเวลาน้อย หรือไม่มีเลย (บางรายก็ทำตาเขียวใส่) ที่จะพบปะพูดคุย ให้ข้อมูลสินค้า สร้างโอกาสทางธุรกิจกับนักลงทุน
ศูนย์ OTOP อำเภอพาน ก็ร้างเหมือนกัน |
วิธีแก้ไขดำเนินการ:
1) พัฒนาศูนย์ OTOP ของจังหวัดให้เป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัด
ศูนย์ OTOP ของชุมชมนับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับการเดินทางเข้าไปซื้อหา เนื่องจากการกระจายตัว การเดินทางที่ลำบาก และชุมชนเหล่านั้นก็ไม่ใช่จุดหมายของนักท่องเที่ยว การจัดตั้งศูนย์ OTOP ของจังหวัด เป็นการใช้ประโยชน์จากคำว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย" หิ่งห้อยตัวเล็ก ๆ ยากที่จะแข่งกับแสงเดือน ในแต่ละปีให้มีการจัดถนนคนเดินบน "ถนนภูมิปัญญา" ของแต่ละจังหวัด และจัดงานประเพณีและงาน OTOP ประจำปีของของจังหวัด
2) ทำให้งานแสดงสินค้าโอท็อป เป็นงานแสดงสินค้ามากขึ้น
งาน แสดงสินค้าโอท็อปจะเป็นงานที่พ่อค้าแม่ค้าจากชุมชน พบปะนักธุรกิจและผู้สนใจ โดยแต่ละจังหวัดมีพื้นที่และจัด pavillion ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทำการประชาสัมพันธ์จังหวัด ข้อมูลการเดินทางไปยัง "ศูนย์ OTOP ของจังหวัด" และให้ชุมชนผู้ผลิตสินค้าโอท็อปที่ได้รับการคัดเลือก มาจัดแสดงสินค้าในบริเวณ pavillion ของจังหวัดนั้นๆ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสินค้าฟรีตลอดทั้งงาน จัดหานามบัตร และ brochure ให้เพียงพอ ในกรณีนี้รัฐบาลจะสร้างโอกาสในการทำการตลาดให้แก่ผู้ผลิต OTOP เป็นการย้ายความสนใจของผู้ผลิต OTOP จากการขายและได้เงินไว ๆ มาเป็นการเน้นการทำตลาด เร่งประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และสานต่อธุรกิจในระยะยาว
3) จัดศูนย์ OTOP ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ๆ
ศูนย์เหล่านี้จะเป็นผู้ให้บริการข้อมูลของชุมชน OTOP, ร้านขายสินค้า OTOP และศูนย์ OTOP ของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ศูนย์นี้จะเป็นศูนย์ถาวรเป็นและทำหน้าที่เป็นตัวคอยประสานงานระหว่างนัก ธุรกิจและผู้สนใจเข้าชม และหาโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชุมชน OTOP ต่าง ๆ
4) รัฐบาลจัดงาน Road Show สำหรับผู้ผลิต OTOP 5 ดาว
รัฐบาลต้องเลือกผู้ผลิตที่มีความพร้อมด้านการบริหารและการตลาดที่จะขยายตัว ขึ้น ส่งเสริมให้ได้รับตรา Thailand Best และจัดงา่น road show ยังต่างประเทศ
ศูนย์ OTOP ของชุมชมนับว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับการเดินทางเข้าไปซื้อหา เนื่องจากการกระจายตัว การเดินทางที่ลำบาก และชุมชนเหล่านั้นก็ไม่ใช่จุดหมายของนักท่องเที่ยว การจัดตั้งศูนย์ OTOP ของจังหวัด เป็นการใช้ประโยชน์จากคำว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย" หิ่งห้อยตัวเล็ก ๆ ยากที่จะแข่งกับแสงเดือน ในแต่ละปีให้มีการจัดถนนคนเดินบน "ถนนภูมิปัญญา" ของแต่ละจังหวัด และจัดงานประเพณีและงาน OTOP ประจำปีของของจังหวัด
2) ทำให้งานแสดงสินค้าโอท็อป เป็นงานแสดงสินค้ามากขึ้น
งาน แสดงสินค้าโอท็อปจะเป็นงานที่พ่อค้าแม่ค้าจากชุมชน พบปะนักธุรกิจและผู้สนใจ โดยแต่ละจังหวัดมีพื้นที่และจัด pavillion ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทำการประชาสัมพันธ์จังหวัด ข้อมูลการเดินทางไปยัง "ศูนย์ OTOP ของจังหวัด" และให้ชุมชนผู้ผลิตสินค้าโอท็อปที่ได้รับการคัดเลือก มาจัดแสดงสินค้าในบริเวณ pavillion ของจังหวัดนั้นๆ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองสินค้าฟรีตลอดทั้งงาน จัดหานามบัตร และ brochure ให้เพียงพอ ในกรณีนี้รัฐบาลจะสร้างโอกาสในการทำการตลาดให้แก่ผู้ผลิต OTOP เป็นการย้ายความสนใจของผู้ผลิต OTOP จากการขายและได้เงินไว ๆ มาเป็นการเน้นการทำตลาด เร่งประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และสานต่อธุรกิจในระยะยาว
Pavillion OTOP ภาคกลาง |
ศูนย์เหล่านี้จะเป็นผู้ให้บริการข้อมูลของชุมชน OTOP, ร้านขายสินค้า OTOP และศูนย์ OTOP ของจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ศูนย์นี้จะเป็นศูนย์ถาวรเป็นและทำหน้าที่เป็นตัวคอยประสานงานระหว่างนัก ธุรกิจและผู้สนใจเข้าชม และหาโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชุมชน OTOP ต่าง ๆ
สามประสานระหว่าง ศูนย์โอท็อปในเมืองธุรกิจ, ศูนย์โอท็อประดับจังหวัด และร้านจำหน่ายสินค้า OTOP |
รัฐบาลต้องเลือกผู้ผลิตที่มีความพร้อมด้านการบริหารและการตลาดที่จะขยายตัว ขึ้น ส่งเสริมให้ได้รับตรา Thailand Best และจัดงา่น road show ยังต่างประเทศ
ผลที่น่าจะเกิดขึ้น:
1) ทำให้ผู้ผลิต OTOP สามารถยืนได้บนลำแข้งตนเอง ไม่ต้องคอยพึ่งรัฐบาล
2) ตราสินค้า สินค้าและชุมชนจะเป็นที่จดจำมากขึ้นในหมู่นักช้อป
3) กระตุ้นให้เกิดร้านขายสินค้า OTOP เล็ก ๆ ในเมืองกระจายไปทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ขาช้อปที่ไม่สะดวกจะไปซื้อที่ศูนย์ OTOP ของแต่ละจังหวัด
4) เป็นการกระตุ้นให้นักช้อป ไปซื้อเองถึงศูนย์ OTOP จังหวัด ในกรณีที่ต้องการของที่ถูกกว่าที่ขายในร้าน OTOP เล็ก ๆ
5) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่จังหวัด สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และดึงผู้คนไปเที่ยวในจังหวัดนั้น ๆ มากขึ้น
6) ทำให้่สินค้า OTOP มีราคาถูกลงเนื่องจากจะขายสินค้าได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอฟันกำไรในงานโอท็อปเพียงไม่กี่ครั้งในกรุงเทพฯ
- จำนวนผู้ที่สนใจพูดคุยสร้างโอกาสทางธุรกิจกับผู้ผลิตสินค้า OTOP ในงานแสดงสินค้า
- จำนวนธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงหลังงานแสดงสินค้า
- จำนวนผู้เยี่ยมชมศูนย์ OTOP ของจังหวัด
2) ตราสินค้า สินค้าและชุมชนจะเป็นที่จดจำมากขึ้นในหมู่นักช้อป
3) กระตุ้นให้เกิดร้านขายสินค้า OTOP เล็ก ๆ ในเมืองกระจายไปทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ขาช้อปที่ไม่สะดวกจะไปซื้อที่ศูนย์ OTOP ของแต่ละจังหวัด
4) เป็นการกระตุ้นให้นักช้อป ไปซื้อเองถึงศูนย์ OTOP จังหวัด ในกรณีที่ต้องการของที่ถูกกว่าที่ขายในร้าน OTOP เล็ก ๆ
5) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่จังหวัด สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และดึงผู้คนไปเที่ยวในจังหวัดนั้น ๆ มากขึ้น
6) ทำให้่สินค้า OTOP มีราคาถูกลงเนื่องจากจะขายสินค้าได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องรอฟันกำไรในงานโอท็อปเพียงไม่กี่ครั้งในกรุงเทพฯ
การวัดผล:
- จำนวนธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงหลังงานแสดงสินค้า
- จำนวนผู้เยี่ยมชมศูนย์ OTOP ของจังหวัด
.......................................................................................
ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการเก็บภาษีนักท่องเที่ยว
ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2553 เป็นต้นไป นักท่องเที่ยวจาก 32 ประเทศ ที่ต้องการเดินทางเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาจะต้องเสียค่าเข้าประเทศ $ 14 สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเินินงานและส่งเสริมการท่องเที่ยว (operational and travel promotion fee) โดยเดิมทีนั้นนักท่องเที่ยวจากทั้ง 32 ประเทศ ได้รับสิทธิเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาโดยไม่ต้องใช้ visa เพียงแค่กรอกใบสมัครและได้รับการอนุมัติผ่านระบบ Electronic System for Travel Authorization (ESTA) เท่านั้น ระบบดังกล่าวเริ่มนำมาให้บริการฟรีไม่คิดตังส์ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งอเมริกาก็อ้างว่าต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นเงินที่เก็บ $4 จาก $14 นั้นจะเอามาอุดหนุนระบบ ESTA นี้ ที่เหลือก็จะอุดหนุนองค์กร NGO ที่ทำงานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว
แน่นอนว่าไอเดียดังกล่าวได้รับการต่อต้านอย่างมาก โดยส่วนใหญ่บอกว่าไม่เห็นจะ make sense ตรงไหน อยากส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ดันเก็บค่าเข้าประเทศ ที่อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายกับระบบ ESTA ที่เริ่มใช้ในปี 2552 นั้น ก็ตัวเองเลือกจะนำมาใช้เพื่อความปลอดภัยของตัวเองนี่ แล้วจะให้ชาวบ้านไปอุดหนุนระบบความปลอดภัยของอเมริกาหรือ? สำหรับประเทศที่ต้องเสียค่าเข้าชม $14 นี้ได้แก่ นักท่องเที่ยวทางน้ำและทางอากาศจากประเทศ Andorra, Australia, Austria, Belgium, Brunei, the Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Japan, the Republic of Korea, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Monaco, the Netherlands, New Zealand, Norway, Portugal, San Marino, Singapore, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland และ the United Kingdom.
ที่มา: http://news.yahoo.com